วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรื่องน่ารู้ของผักกะสัง

เรื่องน่ารู้ของผักกะสัง : ผักเมนูสุขภาพ สมุนไพร รักษาฝี แก้ปวด ยาสระผม

สมัยเด็กๆ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าเคยกินผักกะสังกับน้ำพริก บางทีก็ลวกกิน บางทีก็กินสดๆ แต่สิ่งที่ทำให้จำผักกะสังได้อย่างแม่นยำคือ ในสมัยที่ยังเรียนอยู่ชั้นประถม จำได้ว่าคุณครูนำพืชต้นเล็กๆ ลำต้นใสๆ เข้ามาในห้อง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสอนและให้เราเรียนรู้ถึงกระบวนการดูดน้ำของพืช แต่ในวันนั้นต้นพืชใสๆ ผู้เสียสละต้องดูดน้ำหมึกแทนน้ำธรรมดา เพื่อให้นักเรียนทั้งชั้นได้เห็นเส้นทางน้ำหมึกค่อยๆ เคลื่อนที่ไปตามลำต้นใสๆ นั้น แต่หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยได้เจอะเจอผักกะสังบ่อยนัก รู้แต่ว่าเป็นยาทาฝี ยาแก้อักเสบของหมอยาหลายคน
ผักกะสังกลับมาให้คนได้รับรู้อีกครั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากการที่ไปส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ที่บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนที่นี่มีภูมิปัญญามากมายในการใช้สมุนไพรและการกินผักพื้นบ้าน แต่เมื่อมีการปลูกพืชตามระบบเคมีทำให้ผักพื้นบ้านหลายชนิดหายไป และไม่กล้าเก็บผักรอบบ้านหรือตามหัวไร่ปลายนามากินอีก เพราะรู้ว่าเพิ่งฉีดยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลงไป เมื่อหันมาปลูกวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ ผักพื้นบ้านหลายชนิดกลับมางอกงาม พวกเขากล้าเก็บผักพื้นบ้านมากินไม่ต้องเสียเงินซื้อผักจากตลาดอีก ผักกะสัง เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น
ผักกะสังมีรสเผ็ดหอม มีสรรพคุณทางหยาง (จัดแบ่งง่ายๆ ว่า หยินคือเย็น หยางคือร้อน) เรื่องรสยาเผ็ดหอมนี้ ยังพออธิบายได้อีกมุมมองหนึ่งว่า ผักกะสังกับพริกไทยนั้นเป็นพี่น้องกัน มีคนลองนำเอาผักกะสังมาขยายใหญ่ให้เท่าต้นพริกไทย มองใบสีเขียวใสๆ ให้เป็นสีเขียวเข้ม ก็จะเห็นหน้าตาผักกะสังเหมือนกับต้นพริกไทย นอกจากนี้ถ้าได้กินผักกะสังที่ยังมีเมล็ดเกาะกันเป็นช่อ คล้ายช่อเมล็ดพริกไทย ก็จะได้ลิ้มรสเผ็ดนิดๆ ซ่าน้อยๆ ที่ลิ้น ผักกะสังเป็นผักสมบูรณ์แบบชนิดหนึ่งทั้งรสชาติ รูปร่างหน้าตาโดยนำมากินสดๆ หรือลวกกินกับน้ำพริก กินเป็นสลัด หรือยำกินก็ได้ หรือนำมาจัดเป็นแจกันผักขนาดเล็กเป็นผักแกล้มบนโต๊ะกินข้าวก็น่าชมไม่น้อย
ผักกะสังถือว่าเป็นผักต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า ผักกะสังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและมีวิตามินซีสูง เรียกได้ว่าวิตามินซีน้องๆ มะนาว คือมะนาว ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซี ๒๐ มิลลิกรัม ส่วนผักกะสังมีอยู่ ๑๘ มิลลิกรัม รวมทั้งทางสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยวิเคราะห์หาธาตุอาหารในพืชผักต่างๆ พบว่าผักกะสัง ๑ ขีด หรือ ๑๐๐ กรัม มีเบต้าแคโรทีน ราว ๒๘๕ ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล การที่ผักกะสังมีธาตุอาหารต้านมะเร็งอยู่สูงขนาดนี้ ผักกะสังจึงจัดว่าเป็นผักต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง
“ยำผักกะสัง” โด่งดังขึ้นจากการที่หมู่บ้านดงบังต้องการให้คนเข้าไปชมวิถีการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ จึงได้พัฒนาตนเองเพื่อเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว ได้มีการค้นหาเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน สิ่งที่พวกเขาเชี่ยวชาญนอกจากการปลูกต้นไม้แล้ว แม่บ้านของชุมชนนี้ทำอาหารอร่อยมาก เช่น แกงบอน แกงปลาดุกใส่ไพลดำ ยำผักกะสังและตำรับอาหารอื่นๆ อีกมากมาย แต่เมื่อเปิดตลาดออกไปอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือยำผักกะสัง มีสื่อมวลชนมากมายไปชิมและนำสูตรมาเผยแพร่ ปัจจุบันสูตร “ยำผักกะสัง” ของหมู่บ้านดงบังเป็นที่รู้จักกันดี ไม่มีการจดสิทธิบัตร ใครจะเชื่อว่าผักกระสังเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ แต่ได้นำมาปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วๆ ไปรวมทั้งประเทศไทย แต่เราลืมมันไปจากกลไกผักตลาดที่ผลิตแบบเคมี ต้องขอบคุณชาวบ้านดงบังที่ทำให้ผักกระสัง กลับมาสู่สังคม



ผักกะสัง...รักษาโรคลักปิดลักเปิด

ในตำรายาไทยระบุไว้ว่าใบของผักกะสังใช้ในการรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งพอจะอธิบายได้ว่า ในผักกะสังมีวิตามินซีและสารอาหารสูง ซึ่งการรักษานั้นใช้ทั้งการกินและการบดต้นแปะบริเวณที่เลือดออกตามไรฟัน


ผักกะสัง…รักษา เริม ฝี มะเร็งเต้านม

หมอยาพื้นบ้านของไทยใช้ผักกะสังเป็นยาไม่มากนักส่วนใหญ่ใช้พอกฝีและสิวโดยใช้ต้นสดตำพอกฝี หรือใช้น้ำคั้นทาสิว ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ใช้ทั้งต้นสดบดประคบฝี หรือตุ่มหนอง และโรคผิวหนังอื่นๆ เช่นกัน ซึ่งจากการศึกษาสมัยใหม่พบว่าผักกระสังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรียหลายชนิด ทั้งยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งจะช่วยกำจัดเนื้อตายทำให้ฝีแตกได้ง่าย และสิวยุบเร็วขึ้น
“ผักกะสังรักษาเริมและมะเร็งเต้านม” ความรู้นี้ไม่ค่อยแพร่หลายนักแต่แมะ (มือลอ มะแซ) ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลาบอกว่า ผักกะสังเป็นยารักษาเริม มะเร็งเต้านม และฝี ในการรักษาเริมนั้นจะนำต้นผักกะสังผสมกับขมิ้นและข้าวสาร (ฮูยงงูกุมาตอกูยิ) ตำให้ละเอียดแล้วพอกทิ้งไว้ ๑ คืน และนำใบมาตำขยำแปะทาเม็ดที่เป็นใต้ราวนม แก้มะเร็งเต้านม ข้อมูลที่ว่าผักกะสังใช้รักษามะเร็งนี้ไม่เคยรู้มาก่อนเลยและเป็นที่น่าทึ่งตรงที่ว่ามีรายงานการศึกษาพบว่า สารในผักกะสังมีฤทธิ์ต้านมะเร็งด้วย นอกเหนือไปจากการแก้อักเสบและแก้ปวด



ผักกะสัง…แก้อักเสบ ข้ออักเสบ เก๊าท์

หมอยาพื้นบ้านบางคนบอกว่ากินผักกะสังแก้ปวดข้อ ซึ่งในประเทศฟิลิปปินส์มีการกินผักกะสังสดๆ หรือนำมาต้มกิน เพื่อรักษาโรคเก๊าท์และข้ออักเสบ โดยนำผักกะสังต้นยาวสัก ๒๐ เซนติเมตร ต้มกับน้ำ ๒ แก้ว ให้เหลือประมาณ ๑ แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ ครึ่งแก้ว เช้า-เย็น ปัจจุบันผักกะสังเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่ฟิลิปปินส์กำลังศึกษาวิจัยเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคข้ออักเสบรวมทั้งโรคเก๊าท์จากการที่ผักกระสังสามารถลดปริมาณกรดยูริคในกระแสเลือด


ผักกะสัง…บำรุงผิว บำรุงผม

ผักกะสังยังเป็นสมุนไพรสำหรับผู้หญิงอีกชนิดหนึ่งนอกจากใช้รักษาสิวแล้ว สาวๆ สมัยก่อนยังใช้น้ำต้มผักกะสังล้างหน้าบ่อยๆ จะทำให้ผิวหน้าสดใส และนอกจากนี้ คุณสารีป๊ะ อาแวกือจิ ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกวั๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา บอกว่าผักกะสังเป็นยาสระผมทำให้ผมนุ่มโดยนำใบขยำกับน้ำชโลมศีรษะให้ศีรษะเย็น ป้องกันผมร่วง ทำให้ผมนุ่ม ซึ่งอธิบายได้ว่าผักกะสังมีธาตุอาหาร มีความเป็นกรดอ่อนๆ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย


ข้อควรระวัง
ในผู้ที่แพ้พืชที่มีกลิ่นฉุนประเภท mustard (พืชที่เป็นเครื่องเทศทั้งหลาย) ไม่ควรรับประทาน



สูตรยำผักกะสัง

ยำผักกะสัง ทำได้ง่ายๆ หั่นผักชิ้นพอประมาณ ๑-๒ ทัพพี น้ำมะนาว ๑-๒ ช้อนโต๊ะ กุ้งแห้ง ๑-๒ ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้งทอดพอประมาณ มะม่วงซอย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ หัวหอมซอยพอประมาณ แครอทซอยฝอยๆ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสงคั่วพอประมาณ ขิงซอย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ หมูหยอง พอประมาณ โหระพา สะระแหน่ ไว้แต่งรส น้ำปลา ๑-๒ ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย ๑-๒ ช้อนโต๊ะ จากนั้นรวมเครื่องปรุงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ปรุงรสตามใจชอบ พร้อมตักเสิร์ฟได้เลย
ในยุคน้ำมันแพง แต่ไม่แล้งปัญญา หากเข้าใจธรรมชาติ นำผักกะสังที่ขึ้นได้ทั่วไป และมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาเป็นอาหารสุขภาพรสเด็ด ประหยัดทั้งเงิน ยังเสริมสร้างสุขภาพอีกด้วย


ผักกะสังเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้เป็นยามากมาย ในโบลิเวียมีบันทึกที่มีอายุนับพันปีชื่อ Altenos Indians document กล่าวไว้ว่า ผักกะสังทั้งต้นบดผสมน้ำใช้กินเพื่อห้ามเลือด ใช้ส่วนรากต้มกินรักษาไข้ ใช้ส่วนเหนือดินโปะแผล นอกจากนี้ ในประเทศอื่นๆ ที่มีผักกะสังขึ้นอยู่จะใช้ผักกะสังในการรักษาอาการปวดท้องทั้งแบบธรรมดาและปวดเกร็ง ฝี สิว แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก อ่อนเพลีย ปวดหัว ระบบประสาทแปรปรวน หัด อีสุกอีใส มีแก๊สในกระเพาะ ปวดข้อรูมาติก และยังมีการใช้เฉพาะบางท้องถิ่นเช่น ในบราซิลใช้ในการลดคอเลสเตอรอล ในกียานา (Guyana) ใช้ในการขับปัสสาวะ ลดไข่ขาวในปัสสาวะ ในแถบอเมซอนใช้ขับปัสสาวะ หล่อลื่น หัวใจเต้นผิดปกติ ส่วนในมาเลเซียเชื่อว่าการรับประทานผักกะสังจะช่วยรักษาโรคตาและต้อ (glaucoma) ปัจจุบันมีสารสกัดจากผักกะสังจำหน่ายในต่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

เมื่ออากาศร้อน ควรจะกินอะไรดี?

สุดยอดสมุนไพรที่จะแนะนำนี้ คือ คุณอบเชยหรือ คุณซินนามอน (Cinnamon)  นั่นเอง
อบเชย เป็นเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง สามารถนำไปบดเป็นผงละเอียด หรือนำไปต้มน้ำเคี่ยวให้งวดเป็นน้ำอบเชย  แล้วนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทาน

คนญี่ปุ่นเชื่อว่าช่วยลดความดันโลหิตให้ต่ำลงได้
คนอเมริกันเชื่อว่าผงอบเชยไปส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินให้ใช้น้ำตาลกลูโคส  จึงมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลได้

คนไทยโบราณมีความเชื่อว่า  อบเชยหรือเปลือกของต้นอบเชยเป็นสมุนไพรรสเผ็ดหวาน ช่วยแก้พิษร้อน แก้ลมอัมพาต ใช้ปรุงเป็นยาหอม ยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย แก้อาการแน่นท้องจุกเสียด  รักษาแผลในกระเพาะอาหาร  แก้ท้องร่วง  ขับปัสสาวะ  ช่วยในการย่อยสลายไขมัน

คนจีนโบราณมีความเชื่อว่า การนำอบเชยกับน้ำไปเคี่ยวเป็นน้ำยาเข้มข้น มีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง  สร้างความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหารและม้าม  ระงับอาการปวดถ่วง  ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก  นอกจากนั้นน้ำอบเชยยังช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้คึกคัก  กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้ร่างกายอบอุ่น  ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น  แก้อาการเกิดตะคริวในกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นต้น
การรับประทานอบเชยที่เราคุ้นเคยกันดีจากขาหมูต้มพะโล้ หรือหมูสามชั้นต้มเค็มแล้ว  เรายังเคยเห็นคนนำผงอบเชยโรยในกาแฟบ้าง ผสมในขนมนานาชนิดบ้าง
แต่เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงยังไม่เคยลองรับประทานข้าวต้มผสมอบเชย  ซึ่งถ้าใครได้รู้จักสรรพคุณของข้าวต้มผสมอบเชย  คงอยากจะลิ้มลองดูสักครั้งเป็นแน่แท้

สรรพคุณของข้าวต้มผสมอบเชย
  1. เหมาะสำหรับผู้ที่กระเพาะอาหารไม่มีแรง, ปวดกระเพาะอาหาร,  เบื่ออาหาร,  อุจจาระเหลว, อาเจียน,  ลำไส้มีเสียงโครกคราก,  ท้องขึ้น,  อาหารไม่ย่อย
  2. หรือเหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไขข้อ,  ปวดหลัง, ปวดกระดูก
วิธีทำ
สูตร  1  ต้มข้าวต้มให้สุก  ใส่น้ำอบเชยและน้ำตาลทรายแดงพอสมควร  ชิมแล้วอร่อยเป็นใช้ได้

สูตร  2  ต้มข้าวต้มให้สุก  โดยใช้ข้าวจ้าวประมาณ  30-60  กรัม  แล้วโรยผงอบเชยใส่ประมาณ 1-2 กรัม  ก็เป็นอันใช้ได้ (สูตรนี้ไม่ต้องใส่น้ำตาลทรายแดง)

จากหนังสือ 'เปิดตู้เย็น เป็นตู้ยา' โดย อ.สุทธิวัสส์ คำภา.


ปอบิด พิชิตสรรพโรคได้จริงหรือ?

รองศาสตราจารย์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถ้ามีใครเดินไปตามร้านขายผัก หรือสมุนไพรในขณะนี้ คงไม่มีใครไม่เห็นสมุนไพรที่เรียกกันว่า ปอบิด วางขายอยู่ทั่วไปพร้อมทั้งมีใบปลิวแนบสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ลดน้ำหนัก แก้เหน็บชา ชาปลายมือปลายเท้า ภูมิแพ้ ไทรอยด์ ปวดข้อ เข่า หลัง รวมถึง ไมเกรน บำรุงตับ ไต และใช้ได้ในโรคเรื้อรังทุกชนิด รวมถึงระบบของสตรี ด้วยวิธีการเตรียมที่ง่าย สะดวก โดยการต้ม และมีรสชาติที่ดื่มง่าย ดังนั้นมีผู้คนจำนวนมากเริ่มสนใจ และใช้มัน และมีหลายคนที่ตั้งคำถามที่ว่ามันใช้ได้จริงหรือ และปลอดภัยหรือไม่ 
          ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับปอบิดก่อน ปอบิดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicteres isora L. เป็นพืชในวงศ์ Sterculiaceae มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นมากมาย เช่น ปอกะบิด ปอทับ มะปิด มะบิด (พายัพ) ขี้อ้นใหญ่ ปอลิงไซ (ภาคเหนือ) ลูกบิด (ไทยภาคกลาง) ซ้อ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) เซ้าจี (สระบุรี) เป็นพืชที่ขึ้นเองตามริมป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ที่รกร้าง แม้กระทั่งในบริเวณกรุงเทพมหานคร พบได้ทั่วไปทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอินเดีย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงไม่มากประมาณ 1-2 เมตร มีขนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง ขอบใบหยัก เมื่อลูบผิวใบรู้สึกสากคาย ออกดอกปีละครั้ง ช่วงเวลาอาจแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและภูมิอากาศ ตามบันทึกขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ ออกดอกและติดผลประมาณเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม แต่ตัวผู้เขียนเองเคยพบที่สระบุรี ออกดอกช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนเมษายน กลีบดอกสีส้มอิฐ เป็นหลอด เมื่อติดฝัก เป็นฝักยาว 3-4 ซม. บิดเป็นเกลียวคล้ายเชือกขวั้น เมื่อแก่จะแตก มีสีน้ำตาลดำ1 จากข้อมูลในตำรายาไทย ใช้เปลือกต้นและราก บำรุงธาตุ ผล ใช้แก้บิด (สันนิษฐานว่าตามรูปร่างของผล) แก้ปวดเบ่ง(อันเนื่องมาจากบิด) ท้องเสีย ขับเสมหะ ตำพอกแก้ปวดเคล็ดบวม2,3 
          ในประเทศอินเดียใช้ผลแก้ท้องเสียเช่นเดียวกัน และมีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ที่ดีในการยับยั้งเชื้ออีโคไล ที่เป็นเชื้อสาเหตุของอาการท้องเสียทั่วไป และให้ผลดีกับเชื้อ Salmonella typhimurium ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผลปานกลางต่อเชื้อไข้ไทฟอยด์ (Salmonella typhi)ซึ่งมีอาการไข้ร่วมกับท้องเสียอื่น4 และมีผลยับยั้งการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ5ถึงแม้งานวิจัยนี้จะสอดคล้องการใช้ในโรคท้องเสีย ขนาดที่ใช้ในคนก็ยังระบุไม่ได้ชัดเจนนัก 
          การศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของปอบิดในโรคอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ โรคเบาหวาน พบว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่ทำให้เป็นเบาหวาน และป้องกันไม่ให้ระดับไขมันสูงขึ้นซึ่งมักพบตามมาหลังจากการเป็นเบาหวาน ฤทธิ์ของสารสกัดคล้ายกับยาไกลเบนคลาไมด์6 การทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่าเพิ่มการขนส่งน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อของหนู7 และเพิ่มการขนส่งน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อกระบังลมแต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาเมทฟอร์มิน8 อย่างไรก็ดีการทดลองเหล่านี้แม้จะสรุปได้ว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิด น่าจะมีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะระบุขนาดที่ใช้ และยังไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง จำเป็นต้องมีการทดลองเพิ่มเติมต่อไปทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความเป็นพิษ เนื่องจากปอบิดไม่ใช่พืชอาหาร การทดลองเพื่อหาความเป็นพิษเมื่อใช้ระยะยาวเป็นอีกงานวิจัยที่สำคัญ อนึ่งพบว่าสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีรายงานความเป็นพิษต่อตับและไต หากรูปแบบหรือขนาดที่ใช้ไม่ถูกต้อง ในกรณีที่ยังมีข้อมูลไม่ครบเช่นนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการเลือกใช้ด้วยตนเอง หรือได้ทดลองใช้แล้ว ให้ตรวจภาวะการทำงานของตับไตอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน และห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติ หรือแม้แต่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคตับ หรือโรคไต 
          สำหรับโรคอื่นๆที่กล่าวอ้างถึงนั้น ยังไม่พบการวิจัยที่พิสูจน์ฤทธิ์ดังกล่าว อีกทั้งโรคเรื้อรังต่างๆที่กล่าวอ้างนั้น ไม่ได้มีข้อมูลการใช้แผนโบราณสนับสนุน ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกใช้
เอกสารอ้างอิง
  1. ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=1187
  2. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/ Accessed on May 14h, 2013.
  3. เสงี่ยม พงษ์บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2508.
  4. Tambekar DH, Khante BS, Panzade BK, Dahikar S, Banginwar Y. Evaluation of phytochemical and antibacterial potential of Helicteres isora L. fruits against enteric bacterial pathogens. Afr J Tradit Complement Altern Med. 2008;5(3): 290-3.
  5. Pohocha N, Grampurohit ND. Antispasmodic activity of the fruits of Helicteres isora Linn. Phytother Res. 2001 Feb;15(1):49-52.
  6. Boopathy Raja A, Elanchezhiyan C, Sethupathy S. Antihyperlipidemic activity of Helicteres isora fruit extract on streptozotocin induced diabetic male Wistar rats. Eur Rev Med Pharmacol Sci. 2010 Mar;14(3):191-6.
  7. R. N. Gupta, Anil Pareek, Manish Suthar, Garvendra S. Rathore, Pawan K. Basniwal, and Deepti Jain. Study of glucose uptake activity of Helicteres isora Linn. fruits in L-6 cell lines. Int J Diabetes Dev Ctries. 2009 Oct-Dec; 29(4): 170–173.
  8. Suthar M, Rathore GS, Pareek A. Antioxidant and Antidiabetic Activity of Helicteres isora (L.) Fruits. Indian J Pharm Sci. 2009 Nov; 71(6): 695-9.

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของแก่นตะวัน

  1. แก่นตะวันมีประโยชน์อย่างไร ? หัวแก่นตะวันจัดเป็นอาหารที่ดีและมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ เพราะเป็นอาหารเสริมสุขภาพอย่างหนึ่ง เนื่องจากในหัวของแก่นตะวันนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น เช่น มีวิตามินบีรวม แคลเซียม ธาตุเหล็กที่สูง เป็นต้น
  2. ประโยชน์แก่นตะวัน ช่วยลดกลิ่นปากจากเชื้อแบคทีเรีย
  3. เนื่องจากดอกแก่นตะวัน มีดอกที่สวยงามจึงมีการเพาะปลูกไว้เป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นพืชเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ เพราะมีความสวยงามไม่แพ้ทุ่งบัวตองหรือทุ่งทานตะวันเลยทีเดียว
  4. หัวใช้รับประทานสดๆ เป็นผัก ซึ่งหัวสดจะมีรสชาติคล้ายๆ กับแห้ว หรือนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน ทำเป็นขนมหรือใช้ต้มรับประทาน หรือนำไปผัดหรือใช้ยำก็ได้เช่นกัน
  5. หัวแก่นตะวันสามารถนำมาใช้เป็นอาหารแทนมันฝรั่งได้ เพราะมีเนื้อสัมผัสเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่ามีรสหวานกว่า จึงเหมาะสำหรับใส่ในสลัดผักต่างๆ
  6. หัวแก่นตะวันสามารถนำมาเป็นผง คือเอาหัวมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาตากแดดให้แห้งแล้วอบ เมื่ออบเสร็จก็นำมาป่นเป็นผงเล็กๆ ซึ่งผลดังกล่าวสามารถนำไปผสมกับแป้งต่างๆ เป็นผลิตภัณฑ์ได้ เช่น ขนมปัง ขาไก่ คุกกี้ เป็นต้น จะช่วยทำให้มีรสชาติที่ดีและมีกลิ่นหอม แถมยังคงปริมาณของอินนูลินไว้ได้อีกด้วย
  7. มีการนำหัวแก่นตะวันมาสกัดเอาสารอินนูลิน ใช้ผสมในผลิตภัณฑ์นมผงเด็ก โดยจะมีสารอินนูลินผสมอยู่ด้วยราว 1-2% ซึ่งหลายๆ คนอาจจะไม่ได้สังเกต
  8. หัวแก่นตะวัน ใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นสุราและเอทานอลได้ ซึ่งในประเทศเยอรมัน รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก จะมีการใช้หัวแก่นตะวันในการผลิตสุรากันมากกว่า 90% ซึ่งสุราชนิดนี้ก็คือ Topi หรือ Rossler
  9. ลำต้นแก่นตะวัน ก็สามารถนำไปหมักทำเป็นเอทาอลได้เหมือนกัน
  10. ลำต้นและใบของแก่นตะวัน สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ และยังมีสารอาหารที่ช่วยในการย่อยได้หมดมากกว่าถั่วอัลฟัลฟา (แต่จะมีโปรตีนน้อยกว่า)
  11. หัวใช้เป็นอาหารเสริมในสัตว์เลี้ยงได้ เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโต ทำให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรง ช่วยลดจุลินทรีย์ที่เป็นโทษในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สัตว์เลี้ยง จึงช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะไปด้วยในตัว จึงถูกมีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรของสัตว์เลี้ยง
  12. การเสริมสารสกัดอินนูลินลงไปในอาหารของสัตว์ เช่น สุนัข สุกร ไก่ จะช่วยปริมาณของแอมโมเนียในระบบทางเดินอาหารและในสิ่งขับถ่ายได้ จึงช่วยทำให้ลดปริมาณของสารที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในสิ่งขับถ่าย ทำให้กลิ่นเหม็นของอุจจาระลดลงอย่างมากจนถึงไม่มีกลิ่นเลย
  13. ในเชิงอุตสาหกรรม มีการใช้หัวแก่นตะวันมาเป็นวัตถุดิบในการสกัดเป็นน้ำตาลอินนูลิน (Inulin) เพราะสามารถพบได้ในพืชชนิดนี้มากถึง 16-39% และยังมีการใช้อินนูลินเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลเชื่อมฟรุคโตสเข้มข้น หรือสารให้ความหวานในอุตสาหกรรมอาหาร
  14. แก่นตะวันเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง หัวสด 1 ตัน สามารถใช้ผลิตเป็นเอทานอลบริสุทธ์ 99.5% ได้มากถึง 100 ลิตร สามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนด้วยการนำไปใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน ใช้ผลิตแก๊สโซฮอล์ได้อีกด้วย
  15. แก่นตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยม เพราะสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ผลิตภัณฑ์แก่นตะวัน เช่น แก่นตะวันแบบบรรจุถุง แก่นตะวันบดผง แก่นตะวันอบแห้ง ชาแก่นตะวัน ว่านแก่นตะวันแคปซูล สบู่แก่นตะวัน เป็นต้น
สมุนไพรแก่นตะวัน

วิธีกินแก่นตะวัน

  • แก่นตะวันสามารถรับประทานได้ทั้งแบบปอกเปลือกและไม่ปอกเปลือก แต่การรับประทานทั้งเปลือกก็ควรล้างให้สะอาดก่อน เนื่องจากมีแง่งเยอะอาจจะเศษดินติดอยู่ หรือจะแช่น้ำไว้สักพักเพื่อให้ดินอ่อนตัวก่อนนำมาล้างก็ได้ ถ้าจะให้ดีก็ใช้แปรงสีฟันเล็กๆ นำมาขัดอีกรอบเพื่อความสะอาด
  • สำหรับวิธีการปอกเปลือกแก่นตะวัน ก็ใช้วิธีเดียวกันกับการปอกเปลือกมะม่วง โดยใช้มีดสองคมขนาดเล็ก (ด้ามสีส้มที่เราคุ้นเคยกันดี) ในการปอกเปลือก ถ้ามีแง่งก็ให้ใช้มีดตัดออกมาก่อนแล้วค่อยปอก
  • สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยรับประทาน ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่มากก่อนในช่วงแรก หรือทานสดครั้งละ 1 ขีด เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพก่อน
  • สำหรับการเก็บรักษา สำหรับแก่นตะวันแบบปอกเปลือก ก็ให้เก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่ปิดฝามิดชิดไม่ให้อากาศเข้า หรือจะใส่ถึงซิป กล่องพลาสติกก็ได้ แล้วนำไปแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา ก็จะช่วยทำให้คงความสดและไม่ทำให้เหี่ยวเร็ว
  • แก่นตะวันที่ไม่ปอกเปลือก สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 10 สัปดาห์ หรือมากกว่าถ้าไม่มีเชื้อรา แต่หากเก็บไว้นานสีอาจจะเปลี่ยนหรือเหี่ยวทำให้ดูไม่น่ารับประทาน ยิ่งเก็บไว้นานคุณภาพก็ยิ่งน้อยลง การรับประทานแบบสดใหม่จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
  • การใช้หัวแก่นตะวันในการประกอบอาหาร อาจพบว่าสีของหัวเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำคล้ำ สาเหตุอาจมาจากการปอกเปลือกทิ้งไว้นาน ดังนั้นเมื่อปอกเปลือกหรือหั่นเสร็จแล้วให้เก็บแช่ทิ้งไว้ในน้ำเปล่าก่อนที่จะนำไปประกอบอาหาร ช่ะช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้
แหล่งอ้างอิง : คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (รองศาสตราจารย์ ดร.สนั่น จอกลอย), สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ดร.ครรชิต จุดประสงค์), สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 132, นิตยสารขวัญเรือน ฉบับ 849 (พญ.ลลิตา ธีระสิริ)

คุณค่าทางโภชนาการของแก่นตะวันดิบ ต่อ 100 กรัม

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

สรรพคุณของแก่นตะวัน

  1. ชาวอินเดียนแดงปลูกต้นแก่นตะวันไว้รับประทานหัว โดยมีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดการติดเชื้อ เพราะสารอินนูลินจะช่วยลดปริมาณของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร อย่างเชื้ออี.โคไล (E.Coli) และโคลิฟอร์ม (Coliforms) และในขณะเดียวกันยังไปช่วยเพิ่มการทำงานของแบคทีเรียกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายให้เจริญเติบโตดีขึ้นอีกด้วย เช่น บิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) และแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus)
  3. ช่วยป้องกันอาการภูมิแพ้ การแพ้อาหาร โดยเฉพาะในเด็ก
  4. แก่นตะวันลดความอ้วน ช่วยลดน้ำหนักและความอ้วน ภายในหัวจะมีน้ำประมาณ 80% และมีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 18% ซึ่งคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่จะเป็นอินนูลิน (Inulin) ซึ่งอินนูลินเป็นสารเยื่อใยอาหารที่ให้ความหวานได้ แต่จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะและลำไส้เล็ก จึงสามารถอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้นาน จึงช่วยทำให้ไม่รู้สึกหิว ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย สามารถช่วยควบคุมพลังงานที่ได้รับต่อวันได้เป็นอย่างดี จึงช่วยลดความอ้วนและป้องกันโรคเบาหวานไปด้วยในตัว ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าหนูที่ได้รับสารนี้เป็นเวลา 3 สัปดาห์ น้ำหนักตัวของมันจะลดลงมากกว่าหนูปกติถึง 30% โดยดร.ครรชิต จุดประสงค์ นักวิชาการประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังระบุด้วยว่าแก่นตะวันสามารถช่วยลดความอ้วนได้ดีกว่าพืชลดความอ้วนชนิดอื่นๆ ที่คนไทยรู้จักกันดีเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน อย่างเช่น หญ้าหมาน้อย หัวบุก และเม็ดแมงลัก เป็นต้น
  5. ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากแก่นตะวันมีสารประกอบเชิงซ้อนกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานต่ำกว่าคาร์โบไฮเดรตทั่วไป มีลักษณะคล้ายแป้ง แต่มีคุณสมบัติในการรักษาสมดุลของสารอาหารที่รับประทาน โดยสามารถรับประทานได้มากขึ้น แต่ยังช่วยคงระดับพลังงานให้คงที่ได้ ทำให้รู้สึกอิ่มนาน ซึ่งไม่เหมือนกับแป้งทั่วไปที่ร่างกายย่อยสลายแล้วถูกดูดซึมเข้าไปสะสมเป็นไขมันแล้วทำให้อ้วน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน
  6. ช่วยป้องกันไขมันในเลือดสูง เพราะเส้นใยของแก่นตะวันจะช่วยดูดซับน้ำมันและน้ำตาลที่เรารับประทานเกินไว้ ไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ หรือไขมันเลว ที่เรารับประทานเข้าไปทิ้งออกทางอุจจาระ และยังมีงานวิจัยที่ระบุว่าผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไดร์สูง หากได้รับอินนูลินเป็นประจำก็จะช่วยทำให้ไขมันในเส้นเลือดลดลงได้
  7. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเส้นใยของแก่นตะวันเป็นตัวช่วยดูดซับไขมันที่เป็นโทษต่อร่างกายและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าวทิ้งออกทางอุจจาระ
  8. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี เนื่องจากแก่นตะวันมีแคลอรี่ต่ำ ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด แม้จะรับประทานในปริมาณมาก จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หากรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีงานวิจัยที่ระบุว่าผู้ที่ได้รับสารอินนูลินเป็นประจำจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่กินน้ำตาลมากถึง 40%
  9. ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยในการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ และช่วยบำรุงสุขภาพของลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ที่ได้รับสารอินนูลินเป็นประจำ จะทำให้ลำไส้ใหญ่จะแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มมากขึ้น และมีปริมาณของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือแบคทีเรียที่เป็นตัวก่อโรคให้ที่ลดลง ทำให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดแก๊สกลิ่นเหม็นในร่างกายลดลง หรือแบคทีเรียที่กินซากเนื้อสัตว์ตัวสร้างสารก่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่อย่างอีโคไลก็ลดน้อยลงด้วยเช่นกัน
  10. ช่วยกระตุ้นการดูดซึมของแร่ธาตุหลายชนิด ช่วยปรับสภาพของลำไส้ให้เหมาะสมต่อการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด ที่ไม่สามารถดูดซึมได้ในลำไส้เล็ก และช่วยให้ลำไส้ใหญ่สามารถดูดซึมแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการช่วยดูดซึมธาตุแคลเซียมได้มากถึงร้อยละ 20% รวมไปถึงธาตุเหล็ก ฯลฯ
  11. ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย ช่วยในขับถ่าย ช่วยทำความสะอาดลำไส้ ช่วยเก็บกวาดของเสียในระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี แก้อาการท้องผูกได้ เนื่องจากทำให้อุจจาระมีกากใยมากขึ้น และยังช่วยลดกลิ่นเหม็นของอุจจาระได้อีกด้วย
  12. สมุนไพรแก่นตะวัน สรรพคุณช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้อาการท้องเสีย
  13. สรรพคุณแก่นตะวัน ช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำดี
  14. แก่นตะวัน สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ
  15. ช่วยป้องกันสารพิษอย่างโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว
คำแนะนำ : แม้จะมีข้อดีอยู่หลายประการ แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง เนื่องจากแก่นตะวันมีคุณสมบัติของเส้นใยอาหารสูง การรับประทานสารสกัดในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น มีอาการไม่สบายท้อง จุกเสียดแน่นท้อง ท้องเสีย ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือมีอาการคลื่นไส้ เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้น้อยและไม่มีผลกระทบต่อผู้รับประทานมากนัก หากคุณรับประทานสารสกัดดังกล่าวในปริมาณที่เหมาะสม หรือเลือกรับประทานในรูปของแก่นตะวันสดในรูปของอาหาร แถมยังช่วยคงคุณค่าของสารอาหารและเส้นใยไว้อย่างครบถ้วนอีกด้วย 

คุณรู้จักแก่นตะวันแล้วหรือยัง

แก่นตะวัน เป็นพืชตระกูลเดียวกับทานตะวัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ มีดอกสีเหลืองสดคล้ายดอกบัวตอง มีหัวคล้ายขิงข่า หัวของแก่นตะวันเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ เพราะมีส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่าอินนูลิน ซึ่งมีสรรพคุณที่ดีมากมายต่อสุขภาพ ได้แก่

-ทำให้ระบบขับถ่ายดี ลดอาการท้องผูก
-ลดความอ้วน
-ลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
-ลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด
-ลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง หัวใจ และหลอดเลือด
-ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
-เพิ่มการดูดซึมวิตามิน B แคลเซียม และธาตุเหล็ก


-รสชาติคล้ายแห้ว หรือมันแกว
-ทานสดได้ทั้งปอกเปลือกและไม่ปอกเปลือก
-ประกอบอาหารสลัด ยำ จิ้มน้ำพริก




แก่นตะวัน






วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์อินนูไลค์

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์อินนูไลค์
1. อินนูลินเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในหัวแก่นตะวัน ประโยชน์ที่ได้จากการทานแก่นตะวันมาจากการทำงานของสารอินนูลิน 

2. ประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่นอกจากในด้านความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระแล้ว โกจิเบอร์รี่ยังอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งช่วยในการบำรุงผิวพรรณ ให้ผิวกระจ่างใส ลดการเกิดฟ้า กระ และยังอุดมไปด้วยแคโรทีนและซีแซนทีนซึ่งช่วยในการบำรุงสายตา ชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาของเราจากการทำงาน การจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ หรือปัจจัยจากอายุที่เพิ่มขึ้น


อินนูลิน(Inulin) อินครีติน(Incretin) อินซูลิน(Insulin) อินนูไลค์(Innulike) 

เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอย่างไร

อินนูลิน(Inulin) เป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำได้(Soluble fiber) เป็นส่วนประกอบหลักที่พบในหัวแก่นตะวัน ทำให้แก่นตะวันมีคุณค่าต่อสุขภาพ

อินซูลิน(Insulin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ทำหน้าที่พาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ในคนที่เป็นเบาหวานแม้น้ำตาลในเลือดจะสูง แต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ

อินครีติน(Incretin) เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย จริงๆแล้วอินครีตินเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร มีผลกระตุ้นการหลังฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน ทำให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้มากขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดจึงลดลง

อินนูลิน(Inulin) เมื่อร่างกายได้รับจะมีผลไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอินครีติน(Incretin) จากเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งจะทำให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin) จากตับอ่อนดีขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดจึงลดลง ท่านสามารถดูรายละเอียดได้จาก3แหล่งดังนี้ >>>
แหล่งที่1 >>http://ruethaithip.wordpress.com/เบาหวานชนิดที่-2/what’s-new-in-type-2-dm/
แหล่งที่2 >> http://www.oknation.net/blog/print.php?id=634075

อินนูลิน(Inulin) นอกจากจะพบในแก่นตะวัน ชิโครี่ หอม กระเทียมแล้ว ปัจจุบันเราได้นำเสนออยู่ในผลิตภัณฑ์อินนูไลค์(Innulike) ซึ่งสะดวกในการบริโภค หาซื้อ จัดเก็บ พกพา
(เลขที่อย. : 13-2-04352-1-0035)
มีจำหน่ายที่ร้านศรีทองงามพาณิชย์ 49/5 ม.10 ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 

โทร.082-8626267,081-0807478